Review- Akimbot เจ๊าะแจ๊ะและจริงจัง


เรตเกม IARC: 7+ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป
เกมแอ็คชั่น 3D แพลตฟอร์มเมอร์ที่ป่าวประกาศให้ทั้งโลกรับรู้ว่าตนต้องการเป็นอย่าง Ratchet & Clank แม้ในความเป็นจริงแล้วมันจะเหมือนเขาแค่เปลือกนอก

สำหรับ Akimbot นั้นมันเป็นเกมแนวแอ็คชั่นผจญภัยที่ว่าด้วยเรื่องราวของหุ่นยนต์นอกกฎหมายมาดเคร่งขรึม “เอ็กซี” (Exe) และโดรนช่างจ้อ “ชิพเซ็ต” (Shipset) สองคู่หูโรบอทต่างไซส์ต่างนิสัยที่ต้องจำใจมาทำงานร่วมกันเป็นทีมเฉพาะกิจเพื่อหยุดยั้งแผนการร้ายของ Evilware อดีตนักวิทยาศาสตร์สุดปราดเปรื่องผู้หมายครอบครองวัตถุโบราณ Artifact โดยหวังใช้พลังอันมากมายมหาศาลของมันทำลายล้างทั้งจักรวาล

อย่างที่ได้จั่วหัวไปตอนต้น ตัวเกมจะมีระบบการเล่นที่ละม้ายคล้ายคลึงกับซีรีส์เกมดังของฝั่ง โซนี่ เมื่ออยู่ในระยะประชิดตัวเอกของเราจะสามารถควักดาบแสงออกมาฟาดฟัน ถ้าศัตรูอยู่ไกลก็ใช้อาวุธปืนเล็งยิงเอา เจออุปสรรคก็สามารถกระโดดสองจังหวะหรือพุ่งแดชหลบหลีกกลางอากาศได้อย่างอิสระ ซึ่งนอกเหนือจากการเคลื่อนที่แบบเบสิคพื้นฐานแล้ว ทางทีมผู้พัฒนายังได้เสริมใส่ลูกเล่นโหนสลิงและวิ่งไต่กำแพงเข้ามาเพิ่มเติมอีกด้วย เรียกได้ว่าการบังคับควบคุมต่างๆค่อนข้างทำออกมาได้ดีลื่นไหลพลิ้วไหวดุจสายน้ำเลยทีเดียว

ความสามารถอีกหนึ่งอย่างของตัวละคร คือการแฮคเจาะระบบเพื่อเปิดเส้นทางไปต่อเบื้องหน้าหรือแฮคเหล่าบอสหุ่นยนต์เพื่อลดข้อได้เปรียบของพวกมัน โดยการแฮคแต่ละครั้งจะสำเร็จผลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถผ่านมินิเกมที่เด้งผุดขึ้นมาแบบสุ่มได้ทันเวลาหรือเปล่า? ซึ่งมินิเกมมันก็มีอยู่หลากหลายประเภทหมุนเวียนสลับกันไป อาทิ มินิเกมกดปุ่ม QTE ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอ, มินิเกมจิ้มจุดทั้งหมดให้ทันในเวลาที่กำหนด, มินิเกมทายของซ่อนที่ถูกสลับตำแหน่งการวาง ไปจนถึงมินิเกมงูกินหางก็มีให้ได้เล่นเช่นเดียวกัน จริงอยู่แรกๆมันอาจจะสนุกสนาน แต่เล่นไปนานๆแฮคโน่นนี่นั่นบ่อยๆเข้าคุณก็อาจจะรู้สึกเหนื่อยหน่ายกับมันได้

หนำซ้ำด้วยตีมจักรวาลในเกมที่มีแต่ พวกหุ่นยนต์ ใบหน้าตัวละครไม่ว่าจะตัวหลักหรือตัวรองจึงดูคลับคล้ายเป็นบล็อกทรงเดียวกันหมดราวกับพวกมันถูกผลิตออกมาจากโรงงานเดียวกัน สองฮีโร่คู่หูของเราไม่มีความโดดเด่นแตกต่างอะไรไปจากเหล่าตัวละคร NPC ประดับฉาก และที่สงสัยคาใจเรามากที่สุด นั่นคือทำไมดาวทุกดวงในกาแล็กซีที่เราไปเหยียบถึงต้องมีพื้นที่แอ่งน้ำทะเลสาบให้เราต้องกระโดดข้ามเหมือนกันหมดทุกแห่งหนด้วย ใส่ไอเดียความคิดสร้างสรรค์ทำเป็นอุปสรรคอย่างอื่นขึ้นมาแทนไม่ได้หรือ อันนี้ไม่เข้าใจเลยจริงๆ

สำหรับสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ในการทดสอบ ต้องขอบคุณทางบริษัท AMD ที่ให้ความอนุเคราะห์อัพเกรดจัดการ์ดจอตัวแรง AMD Radeon RX 7800 XT 16GB มาให้เราได้ใช้ในการเล่นและรีวิวเกมนี้ โดยที่ตัวซีพียูนั้นยังคงเป็น AMD RYZEN 5 5500, แรม G.SKILL SNIPER-X 16GB BUS3600 และติดตั้งลงบนเมนบอร์ด ASUS TUF GAMING A520M-PLUS

อย่างที่รู้กันการ์ดจอ AMD Radeon RX 7800 XT นั้นมันเกิดมาเพื่อรันเกมที่ระดับความละเอียด 1440p (หรือ 2K) แบบเปิดภาพกราฟิกสูงสุดได้ลื่นๆทุกเกม ฉะนั้นเราจึงเลือกทดสอบเล่นเกมดังกล่าวผ่านจอมอนิเตอร์อัลตร้าไวด์ขนาด 34 นิ้ว เซตตั้งความละเอียดเอาไว้สูงสุดที่ 3440×1440 พร้อมกับปรับคุณภาพกราฟิกในเกมทุกอย่างเป็น Very High ผลลัพธ์คือเฟรมเรตวิ่งได้อยู่ที่ราวๆ 90-100 fps ซึ่งนี่ถือเป็นพลังดิบของการ์ดจอเนื่องจากตัวเกม Akimbot ณ ปัจจุบันมันยังไม่ได้รองรับเทคโนโลยี FSR นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตัวเกมจะไม่รองรับ FSR แต่ทว่าเราก็มีทางแก้ปัญหาเพราะเมื่อไม่กี่วันก่อนทาง AMD เพิ่งปล่อยอัปเดตเพิ่มเติมฟีเจอร์ AMD Fluid Motion Frames 2 เข้ามาให้เหล่าผู้ใช้งานการ์ดจอตั้งแต่ซีรีส์ Radeon RX 6000 ขึ้นไปได้นำไปลองใช้กัน ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวมันจะใช้ AI มาช่วยเพิ่มเฟรมลงไปในเกมของเราแบบเพียวๆ (ไม่ได้เป็นการอัพสเกลภาพเหมือน FSR) โดยหลังจากที่เราได้ลองเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ผ่านซอฟต์แวร์ ADRENALIN ผลปรากฏว่ามันทำเราถึงกับตกตะลึงด้วยค่าเฟรมเรตที่พุ่งทะยานขยับเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 170-180 fps หรือในบางฉากอาจขึ้นไปแตะ 200fps บวกๆเกือบถึงสามร้อยได้เลยทีเดียว

*** อนึ่ง AMD Fluid Motion Frames 2 มันเป็นการเพิ่มเฟรมในระดับไดร์เวอร์และต้องใช้หน้าต่างโอเวอร์เลย์ของ ADRENALIN ในการตรวจจับเท่านั้น ตัวนับ FPS ปกติทั่วไปในเกมหรือของสตีม จะไม่สามารถตรวจจับค่าเฟรมเรตที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ ***
ย้อนกลับมาที่ตัวเกม นอกเหนือจากอาวุธปืนหลักอย่างไรเฟิลจู่โจมหรือสไนที่กระสุนไม่มีวันหมดแล้ว ตัวละครของผู้เล่นยังสามารถงัดอาวุธปืนรูปแบบพิเศษขึ้นมาใช้งานได้อีกด้วย อาทิ ปืนลำแสงเลเซอร์, เครื่องพ่นกรด หรือปืนพกกระบอกคู่ตามชื่อคอนเซปต์ของเกม ซึ่งอาวุธพิเศษเหล่านี้เราสามารถปลดล็อคและอัพเกรดประสิทธิภาพได้โดยการใช้จ่ายเหรียญ Botcoin ในร้านค้า ทว่าอย่างไรก็ตามการจะใช้งานอาวุธพิเศษเราจำเป็นต้องสะสมเกจพลังงานจากการสังหารศัตรูเสียก่อน และด้วยปริมาณการฟื้นฟูเกจที่ไม่ค่อยบาลานซ์กับที่เสียไป ยิงแปบเดียวหมดไว กว่าจะเก็บใหม่ให้เต็มหลอดต้องรออีกนาน จึงทำให้หลายคนรำคาญเปลี่ยนไปใช้ปืนธรรมดายิงศัตรูดูจะสะดวกสบายกว่ากันเยอะ

ตามสไตล์เกมอินดี้ฟอร์มเล็กต้นทุนต่ำสร้างง่ายขายคล่องในราคาแสนถูก เนื้อหาคอนเทนต์ภายในจึงอาจไม่ได้ยืดยาวเหมือนกับเกมระดับบิ๊กเนม เรื่องราวแคมเปญใช้เวลาในการเคลียร์เพียงแค่ประมาณ 6 – 7 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็กด Uninstall ลบไฟล์เกมทิ้งออกไปจากเครื่องได้เลย เพราะมันไม่มีไซด์เควสต์ให้ตามเก็บ ไม่มีสกินตัวละครให้ปลดล็อค ไม่มีทั้งบอสหรืออาวุธลับใดๆให้ตามหา เนื่องจากความลับอย่างเดียวของเกมมีเพียงแค่การสะสม “ข้อมูลที่สูญหาย” (Lost Data) ที่ถูกซุกซ่อนอยู่ในฉากสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ก็อีกนั่นแหละมันไม่เชิงเป็นข้อมูลลับสำคัญของเกมอะไรหรอกนะ เป็นแค่ตัวหนังสือข้อความเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยไร้สาระที่รู้ไปก็รกสมองเปล่าๆ

ด้วยความที่พวกเขาเป็นทีมงานหน้าใหม่ขาดประสบการณ์ หลายองค์ประกอบภายในเกมจึงสะท้อนความไม่ชำนาญความไม่ถนัดเชี่ยวชาญของพวกเขาออกมาอย่างชัดเจน ไล่ตั้งแต่ตัวละครคู่หูคนสนิท “ชิปเซ็ต” ที่พยายามเป็น Claptrap (หุ่นจอมจ้อจากซีรีส์ Borderlands) คอยคุยส่งเสียงเพื่อให้ตัวเกมไม่เงียบเหงา แต่มุกที่ขยันปล่อยมันดันไม่ขำกลายเป็นน่ารำคาญไปซะนี่ อาวุธพิเศษที่เป็นไฮไลท์สำคัญก็ดันพกติดตัวไปได้แค่หนึ่งกระบอก ตอนไหนเบื่อๆอยากเปลี่ยนแนวต้องรอจนกว่าจะไปเจอร้านค้าข้างหน้า การดำเนินเกมที่บังคับเส้นทางต้องไปตามจุดที่กำหนด ยกตัวอย่างด่านหนึ่งที่เราต้องวิ่งไต่กำแพงด้านบนเท่านั้น หากลงเดินลุยพื้นข้างล่างเนื้อเรื่องจะไม่ดำเนินไปต่อ ทั้งๆที่สองเส้นทางก็ไปถึงจุดหมายได้เหมือนกัน ฉากเกมเพลย์ขับยานบินยิงต่อสู้ที่เราทำได้แค่ลากเป้ายิงศัตรู เพราะตัวเกมจะกำหนดเส้นทางที่ยานบินผ่านเองโดยอัตโนมัติ (ลองนึกสภาพตอนคุณเล่น Warzone แล้วมีเด็กที่ไหนมาขับรถให้เลี้ยวส่ายไปส่ายมาจนคุณที่บังคับป้อมปืนยิงใครไม่โดนดูสิคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง!) กอปรกับปริมาณและความโหดแบบผีเข้าผีออกของเหล่าบรรดาศัตรู มันจึงเป็นประสบการณ์ที่ไม่ค่อยน่าอภิรมย์สักเท่าไหร่

“จากเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา Akimbot จึงเป็นอีกหนึ่งเกมที่ยังไม่คู่ควรกับเวลาอันมีค่าของเกมเมอร์ แม้ว่าราคามันจะน่าดึงดูดล่อใจสักเพียงใด เพราะตัวเกมไม่ได้นำเสนอสิ่งใดที่สดใหม่หรือต่อยอดพัฒนาอะไรไปจากเกมต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจ เอาเป็นว่าถ้าหากคุณโหยหาคิดถึง Ratchet & Clank แล้วพอดีเครื่องคอนโซล เพลย์สเตชัน เกิดเสียมีปัญหาใช้งานไม่ได้ อยากจะซื้อเกมนี้มาลองเล่นแก้ขัดระหว่างส่งศูนย์ซ่อมก็พอได้อยู่นะ แต่ขออย่างเดียวอย่าไปคาดหวังกับมันมากเดี๋ยวจะเจ็บแค้นกลางอกเหมือนผู้รีวิว”

เกมเพลย์6
เนื้อเรื่อง6
กราฟิก7
Performance         7
ความคุ้มค่า8
ภาพรวม6.8

ข้อดี: ระบบยิงต่อสู้พอเล่นสนุกเพลินๆได้อยู่, แอ็คชั่นกระโดดแดชพุ่งหลบหลีกกลางอากาศสุดปราดเปรียวว่องไว, มีปืนให้เลือกใช้หลากหลายประเภทแถมอัพเกรดเสริมเอฟเฟกต์ได้, คุณภาพกราฟิกอยู่ในระดับโอเคแม้ไม่ได้งดงามอะไรนัก และราคาเวอร์ชันพีซีที่น่าจัดน่าโดนเอามากๆข้อเสีย: อุปสรรคแพลตฟอร์มมีแค่น้ำกับเลเซอร์เวียนวนเดิมๆซ้ำๆ, การเล่นที่ดำเนินเป็นเส้นตรงหากใช้เส้นทางนอกเหนือจากที่ตัวเกมบังคับเรื่องราวอาจไม่ไปต่อ, เกมเพลย์ขับยวดยานพาหนะที่ชวนปวดขมับ, ไม่มีความลับใดๆให้ตามหาถึงจะมีข้อความปริศนาก็เป็นข้อมูลไร้สาระที่เราไม่ได้อยากรู้, อาวุธพิเศษมีก็เหมือนไม่มีเพราะกระสุนหมดไวแถมพกได้ทีละกระบอก และสองคู่หูตัวละครเอกที่ขาดความโดดเด่นกลมกลืนไปกับ NPCสนับสนุนบทความรีวิวโดยบริษัท PLAION

*ทีมงานผู้จัดการเกม เรียนเชิญผู้อ่านทุกท่านร่วมเป็นแฟนเพจ ManagerGame ทางเฟซบุ๊กเพื่อเพิ่มช่องทางการรับรู้ข่าวสารวงการเกมครับ*

Related Posts

Copyright © 2024 Bilgisayarhurdaci. All Right Reserved.